เมนู

บทว่า อสรณตา แปลว่า อาการที่ระลึกไม่ได้.
บทว่า อธารณตา (ความไม่ทรงจำ) ได้แก่ ไม่อาจเพื่อจะทรงจำ
เพราะบุคคลผู้ประกอบด้วยความไม่ทรงจำนั้นถึงตั้งใจจำก็ไม่อาจรักษาไว้ได้.
ที่ชื่อว่า ปิลาปนตา (ความเลื่อนลอย) เพราะอรรถว่า ย่อมเลื่อน
ลอยในอารมณ์ เหมือนกระโหลกน้ำเต้าลอยในน้ำฉะนั้น.
บทว่า ปมุสฺสนตา* (ความหลงลืม) ได้แก่ เพราะไม่มีสติ หรือ
หลงลืมสติ เพราะบุคคลผู้ไม่มีสติหรือหลงลืมสตินั้น ย่อมเป็นดุจกาที่เก็บก้อน
ข้าว และเป็นเช่นกับสุนัขจิ้งจอกที่เก็บก้อนเนื้อ ฉะนั้น.

ว่าด้วยภาวนาพลทุกะ


พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสภาวนาพละ ต่อไป
บทว่า กุสลานํ ธมฺมานํ (ซึ่งกุศลธรรมทั้งหลาย) คือโพธิปักขิย-
ธรรม.
บทว่า อาเสวนา (การเสพ) คือการเสพตั้งแต่ต้น.
บทว่า ภาวนา (การเจริญ) คือการเพิ่มขึ้น.
บทว่า พหุลีกมฺมํ (กระทำให้มาก) คือกระทำบ่อย ๆ.
นิทเทสแห่งศีลวิบัติ พึงทราบโดยนัยตรงกันข้ามกับโสรัจจนิทเทส
นิทเทสแห่งทิฏฐิวิบัติ พึงทราบโดยนัยตรงกันข้ามกับทิฏฐิสัมปทา และนิทเทส
แห่งทิฏฐิสัมปทา พึงทราบโดยนัยตรงกันข้ามกับนิทเทสแห่งทิฏฐิปาทาน. นิท-
เทสแห่งศีลวิสุทธิเหมือนกับนิทเทสแห่งศีลสัมปทาก็จริง ถึงอย่างนั้น ในนิท-
เทสแห่งศีลสัมปทานั้น พระองค์ตรัสปาฏิโมกขสังวรศีลอันให้ถึงวิสุทธิ ส่วนใน
นิทเทสแห่งศีลวิสุทธินี้ ตรัสศีลอันถึงวิสุทธิ.
* บาลีเป็น สมฺมุสนตา

อนึ่ง โลกิยะและโลกุตรธรรมแม้เป็นไปในภูมิ 4 พระผู้มีพระภาคเจ้า
ก็ตรัสไว้ด้วยทุกะทั้ง 6 เหล่านี้ คือ
1. สติและสัมปชัญญะ (ทุกะที่ 30)
2. ปฏิสังขานพละและภาวนาพละ (ทุกะที่ 31)
3 สมถะและวิปัสสนา (ทุกะที่ 32)
4. สมถนิมิตและปัคคาหนิมิต (ทุกะที่ 33)
5. ปัคคาหะและอวิกเขปะ (ทุกะที่ 34)
6. สีลสัมปทา ทิฏฐิสัมปทา (ทุกะที่ 36).

ว่าด้วยนิทเทสทิฏฐิวิสุทธิทุกะ


พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสทิฏฐิวิสุทธิ ต่อไป
บทว่า กมฺมสฺสกตญาณํ (ญาณเป็นเครื่องรู้ว่าสัตว์มีกรรมเป็นของ
ตน) ได้แก่ ปัญญาเป็นเครื่องรู้ว่า นี้เป็นกรรมของตน นี้ไม่ใช่กรรมของตน
บรรดากรรมทั้ง 2 เหล่านั้น กรรมที่ตนทำแล้วหรือผู้อื่นทำแล้วจงยกไว้ อกุศล
กรรมแม้ทั้งหมดไม่ใช่ของตน เพราะเหตุไร ? เพราะทำลายอรรถ และเพราะ
ให้เกิดอนรรถ ส่วนกุศลกรรมชื่อว่าเป็นกรรมของตน เพราะทำลายอนรรถ
และเพราะให้เกิดอรรถ ในข้อนั้น เหมือนบุรุษมีทรัพย์มีโภคะ เดินทางไกล
ในระหว่างทาง เมื่อเขาประกาศเล่นงานนักษัตรในบ้านและนิคมเป็นต้น ก็มี
ได้คิดว่า เราเป็นอาคันตุกะ (แขก) พึงอาศัยใครหนอเล่นงานนักษัตร เมื่อ
เล่นนักษัตรโดยทำนองที่ต้องการ ย่อมผ่านทางกันดารโดยสบาย ฉันใด สัตว์
เหล่านี้ตั้งอยู่ในกัมมัสสกตญาณนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน กระทำกรรมอันเป็น
วัฏฏคามีมาก เสวยความสุขด้วยความสุข บรรลุพระอรหัตแล้วเหลือจะคณนา.